วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

แป้นพิมพ์ เกษมณี – ปัตตะโชติ


เรื่อง แป้นพิมพ์ เกษมณี – ปัตตะโชติ
ความแตกต่างระหว่าง แป้นพิมพ์ เกษมณี – ปัตตะโชติ

เกษมณี
ปัตตะโชติ
พิมพ์ได้ช้ากว่าแป้นพิมพ์ปัตตะโชติ
พิมพ์ได้เร็วกว่าแป้นพิมพ์เกษมณี
ใช้งานมือขวามากกว่ามือซ้าย และนิ้วก้อยขวาจะถูกใช้งานหนัก
ทั้งสองมือใช้งานเท่า ๆ กัน และให้ลำดับนิ้วที่ใช้บ่อยคือนิ้วชี้ แล้วไล่ลงไปที่นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยที่ใช้งานน้อยที่สุด
ปวดนิ้วมากกว่า
ช่วยลดอาการปวดนิ้วได้
นิยมใช้มากกว่า
ไม่ค่อยนิยมใช้
ปัจจุบัน ยังใช้อยู่
ปัจจุบัน เลิกใช้แล้ว

    แป้นพิมพ์   ปัตตะโชติ
 

แป้นพิมพ์เกษมณี

                         
นายเอดวิน แมคฟาร์แลนด์ เลขานุการส่วนพระองค์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดัดแปลงเครื่องพิมพ์ดีดภาษาอังกฤษเป็นเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย แต่เนื่องจากภาษาไทยมีสระและวรรณยุกต์มาก จึงต้องใช้เครื่องพิมพ์ดีดที่มีแป้นมากกว่าชนิดอื่น คือยี่ห้อ สมิทพรีเมียร์ เมื่อ พ.ศ. 2438ต่อมา หมอยอร์ช บี แมคฟาร์แลนด์ (พระอาจวิทยาคม) ได้ปรึกษาและทำการค้นคว้ากับพนักงานบริษัท 2 คนคือ นายสวัสดิ์ มากประยูร และนายสุวรรณประเสริฐ เกษมณี (กิมเฮง) ใช้เวลา 7 ปีก็วางแป้นอักษรใหม่สำเร็จ ใน พ.ศ. 2474 สามารถพิมพ์ได้ถนัดที่สุดและรวดเร็วที่สุด ให้ชื่อว่าแบบ "เกษมณี" และใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ ต่อมามีการศึกษาพบว่า เครื่องพิมพ์ดีดแบบเกษมณียังมีข้อบกพร่อง และได้มีการคิดวางแป้นอักษรใหม่ ใช้ชื่อว่า "ปัตตะโชติ" ซึ่งสภาวิจัยแห่งชาติตรวจสอบแล้วว่าสามารถพิมพ์ได้เร็วกว่าแบบเดิมประมาณ 25.8%                          

            แป้นพิมพ์เกษมณี เป็นผังแป้นพิมพ์ภาษาไทย คิดค้นโดยคุณสุวรรณประเสริฐ เกษมณี ซึ่งถูกสร้างมาเพื่อใช้กับเครื่องพิมพ์ดีด (ซึ่งไม่มี ฃ/ฅ) ไม่ใช่กับคอมพิวเตอร์โดยตรง โดยในตอนแรกผังแป้นพิมพ์นี้ถูกเรียกว่า "แบบมาตรฐาน" เนื่องจากเป็นผังแป้นพิมพ์แบบแรกๆ ที่ถูกใช้ ต่อมาได้ถูกเรียกว่า แป้นพิมพ์เกษมณีจากผู้ร่วมงาน เนื่องจาก คุณสฤษดิ์ ปัตตะโชติ ได้นำเสนอผังแป้นพิมพ์แบบใหม่ ที่เรียกว่าแป้นพิมพ์ปัตตะโชติ

            ปัจจุบัน แป้นพิมพ์เกษมณีถูกนำไปพัฒนาเป็นแป้นพิมพ์ของคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม
แป้นพิมพ์ปัตตะโชติ เป็นผังแป้นพิมพ์ภาษาไทย คิดค้นโดยคุณสฤษดิ์ ปัตตะโชติ เนื่องจากการวิจัยของคุณสฤษดิ์ชี้ให้เห็นว่า แป้นพิมพ์เกษมณีจะมีการใช้งานมือขวามากกว่ามือซ้ายมาก และนิ้วก้อยขวาจะถูกใช้งานหนัก จึงได้ประดิษฐ์แป้นพิมพ์ปัตตะโชติขึ้น โดยเฉลี่ยให้ทั้งสองมือใช้งานเท่าๆ กัน และให้ลำดับนิ้วที่ใช้บ่อยคือนิ้วชี้ แล้วไล่ลงไปที่นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยที่ใช้งานน้อยที่สุด
                จากการวิจัยของสภาวิจัยแห่งชาติพบ ว่า แป้นพิมพ์ปัตตะโชติสามารถพิมพ์ได้เร็วกว่าแป้นพิมพ์เกษมณีถึง 25.8% และยังช่วยลดอาการปวดนิ้วมือจากการพิมพ์ได้ แต่แป้นพิมพ์ปัตตะโชติก็ไม่เป็นที่นิยมใช้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น