วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

วิวัฒนาการของ CPU

วิวัฒนาการของ CPU
      ปี ค.ศ.
   รายละเอียดประวัติความเป็นมา
            ข้อมูลCPU /รูปภาพ
1971 - 1981
Intel 4004 เป็นชิปไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นแรก
ที่ทางบริษัทอินเทลเปิดตัวพร้อมจำหน่ายไปทั่วโลก วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) หรือเมื่อ 38 ปีที่ผ่านมา ชิปไมโครโปรเซสเซอร์ ทาง Intel ได้นำออกสู่ตลาดเป็นครั้งแรก ซึ่งมีชื่อทางการค้าว่า Intel 4004 ซึ่งในขณะนั้น ชิปไมโครโปรเซสเซอร์ตัวนี้มีราคาจำหน่ายอยู่ที่ 200 เหรียญสหรัฐ 4004 รุ่นแรกของ Intel ใช้งานในเครื่องคิดเลข
                            Intel 4004
เป็น CPU (Central Processing Unit) ขนาด 4.2 X 3.2 มิลลิเมตร ภายในประกอบด้วย ทรานซิสเตอร์ จำนวน 2250 ตัว และเป็น ไมโครโปรเซสเซอร์ขนาด 4 บิต  740 kHz
1972 - 1983

หลังจาก 1 ปีต่อมา Intel (R) ได้ออก ไมโครโพรเซสเซอร์ ขนาด 8 บิตออกมาโดยใช้ชื่อว่า 8008 มีชุดคำสั่ง 48 คำสั่ง และอ้างหน่วยความจำได้ 16 Kbyte ซึ่งทาง Intel (R) หวังว่าจะเป็นตัวกระตุ้นตลาดทางด้านชิปหน่วยความจำได้อีกทางหนึ่ง
            Intel 8008 Microprocessor
รุ่นที่พัฒนาต่อมา ใช้งานแบบ "TV typewriter" กับ dump terminal 8008: เป็นไมโครโปรเซสเซอร์ขนาด 8 bit มีหน่วยความจำ 16 Kbyte  0.8 MHz
1974
8080 Microprocessor รุ่นนี้เป็นการใช้งานแบบ Personal Computer รุ่นแรก ๆวิวัฒนาการของ INTEL CPU  Ed Roberts เจ้าของบริษัท Micro Instrumentation Telemetry systems ได้จัดชุดคิท (ผู้ซื้อประกอบเอง) เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้ 8080 และลงโฆษณาในวารสาร Popular Electronic โดยมีราคา $397 ใช้ชื่อว่า Altair มีการสั่งซื้อเป็นหลายพันเครื่อง ทั้งที่เครื่องต้องโปรแกรม ด้วย สวิตช์ และแสดงผลทาง LED เท่านั้น ถือเป็น ไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกๆ
                     Intel  8080
เป็น microprocessor แบบ 8 บิทออกจำหน่าย ประกอบด้วย ทรานซิสเตอร์ ประมาณ 6,000 ตัว ใช้สัญญาณนาฬิกาที่ความถี่ 2 MHz
1978 -1990s
8086-8088 Microprocessor หรือรุ่น XT ยังเป็นแบบ 8 bit เป็น PC ที่เริ่มใช้งานจริงจังโดย บริษัท IBM นำมาใช้กับเครื่อง PC ในตระกูล IBM PC หรือที่รู้จักกันในนาม XT และ CPU ตัวนี้ก็เป็นต้นแบบของ CPU ในสถาปัตยกรรม X86 ที่ Intel หรือแม้บริษัทอื่น นำมาผลิต CPU ที่ใช้กับเครื่อง PC จนถึงปัจจุบันนี้ (ยกเว้นก็แต่ตัว Intel เอง ซึ่งผลิต CPU ขนาด 64 บิต ที่ไม่ใช้สถาปัตยกรรม X86) ระบบปฏิบัติการที่สนับสนุน CPU ตัวนี้ก็คือ DOS อันเลื่องชื่อของไมโครซอฟท์ นั้นเอง
                 Intel 8088, 8086
เป็น CPU ที่ประมวลผลทีละ 8 บิต มีชุดคำสั่ง 76 คำสั่ง  5 MHz to 10 MHz
1982 to early 1990s
ไมโครโปรเซสเซอร์ ในยุคที่ 2 INTEL 80286 (ปี 1982)
.....80286 หรือ i286 เป็นโปรเซสเซอร์ที่ถูกพัฒนาโดย Intel ที่บริษัท IBM ได้นำมาใช้เป็นจักรกลการคำนวณบนเครื่อง IBM PC/AT (Advanced Technology) 80286 เป็นบันไดก้าวแรกของการเข้าสู่การเป็นโปรเซสเซอร์ชิปที่มีความสามารถสูง โดยมีประสิทธิภาพสูงเหนือกว่า 8088 หรือ 8086 ซึ่งเป็นโปรเซสเซอร์ชิปยุคที่ 1
                        Intel 80286
มีความเร็วเพียงแค่ 6 เมกิเฮิรตช์ ซึ่งบัสของ 80286 เป็นแบบ 16 บิต ภายในมีทรานซิลเตอร์บรรจุอยู่ประมาณ 130 , 000 ตัว 6 MHz (4 MHz for a short time) to 25 MHz
1985 to September 2007
ไมโครโปรเซสเซอร์ ในยุคที่ 3 (ตระกูล i386)
.....ใน ปี 1985-1988 Intel ได้ประกาศตัวโปรเซสเซอร์ตัวใหม่ขนาด 32 บิตที่มีความสามารถสูงกว่า 80286 ซึ่งได้แก่ โปรเซสเซอร์ในยุคที่ 3 คือ 80386DX ซึ่ง ในปี 1985 ที่ประกาศตัวนี้ มีถึง 4 รุ่นด้วยกัน ได้แก่ 16, 20, 25 และ 33MHz โดยรุ่น 33MHz นี้มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงถึง 50MB/s และมีประสิทธิภาพในการประมวลผลสูงถึง 11.4MIPS สำหรับโปรเซสเซอร์ในยุคที่ 3 นี้ มีสองแบบ ได้แก่ 80386DX และ 80386SX
                       Intel 80386DX
ซึ่งภายในมี ทรานซิสเตอร์จำนวน 275,000 ตัว มีตัวรีจิสเตอร์ขนาด 32 บิต และมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลขนาด 2 เท่าเมื่อเทียบกับ 80286
12 MHz to 40 MHz
November 1, 1995
Processor ยุคแรกที่ Intel ใช้ชื่อว่า Pentium
ในช่วงแรกได้ผลิตออกมาที่ความเร็ว 60 และ66 เมกะเฮิรตซ์ อีกไม่นานนักอินเทลก็ได้ ผลิตความเร็วสูงขึ้นอีกเป็น 75 และ 90 เมกิเฮิรตซ์ ซึ่งมีสถาปัตยกรรมที่แตกต่างจากรุ่นแรกๆ และยังสามารถพัฒนาความเร็วไปได้อีกคือ 100 , 13 , 150 และ 166 เมกะเฮิรตซ์ เป็นซีพียูที่มีขีด ความสามารถสูงขั้นทั้งทางด้านความเร็วและเทคโนโลยี มีแคชภายในมากขึ้น และมี ความสามารถในการทำงานกับเลขทศนิยมได้ดีขึ้น และมีความสามารถในการทำงานกับเลข ทศนิยมได้ดีขึ้นโดยรุ่นแรกๆนั้นมีทรานซิสเตอร์ล้านกว่าตัว จึงทำให้มีความร้อนสูงมาก
           Intel Pentium
60-200 MHz โดยมีความเร็วบัสที่แตกต่างกันทั้ง 50/66/75 MHz สำหรับแพ็คเกจที่ใช้ใน Intel Pentium ใช้ได้กับ Socket4, Socket5 เรียกว่าเป็นแพ็คเกจแบบ SPGA ซึ่ง Intel Pentium ในตอนแรกมีจำนวนทรานซิสเตอร์ในตัวเพียง 3.1 ล้านตัวเท่านั้น
From mid 1997 to early 1999
Pentium ll เป็นซีพียูที่ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีของ Pentium Pro ผนวกเข้ากับเทคโนโลยี MMX ที่ใช้สถาปัตยกรรมการทำงานแบบใหม่ที่เรียกว่า “Single InstructionMultiple Data (SIMD)” ซึ่งได้มีการปรับโครงสร้างสถาปัตยกรรมภายในซิปถึง 70 จุด เพื่อเร่งความเร็วในการ ทำงานแบบ 64 บิต และยังมีการเพิ่มชุดคำสั่งเข้าไปอีก 70 คำสั่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ ประมวลผลงานด้าน 3 มิติ
                        Pentium ll
Pentium II ตัวแรกที่ออกมานั้น มีแคช L2 สูงถึง 512-KB เลย ใช้แพ็คเกจแบบ SECC โดยมีรูปร่างซีพียูเอาไว้เสียบเป็น slot ลงเมนบอร์ด หรือที่เราเรียกว่า Slot 1 (SC242) ใช้ระบบบัส 66 MHz มีความเร็วซีพียูตั้งแต่ 233 - 333 MHz
1997 to early 1999
Pentium II Deschutes
ซีพียูในรุ่นนี้เป็นการพัฒนาในส่วนของแกนซีพี ยูให้สามารถทำงานได้ที่ความเร็วสูงขึ้น โดย การลดขนาดการผลิตลงจาก 0.35 มาเป็น 0.25 ไมครอน และเนื่องจากการใช้เทคโนโลยีการ ผลิตที่เล็กลง ทำให้ลดการใช้ไฟเลี้ยงซีพียูน้อยลงอีกด้วย ซึ่งจะช่วยลดความร้อนบนแกนซีพียู
          Pentium II Deschutes
Intel ได้ปรับปรุงระบบบัสจาก 66 MHz มาเป็น 100 MHz แล้ว มีการเปลี่ยนแปลงที่รหัสพัฒนาจาก Klamath เป็น Deschutes และยังใช้เทคโนโลยีการผลิตเล็กลงเหลือ 0.25 ไมครอน โดยหลายๆ อย่างยังคงเหมือนเดิม ทั้งการที่เป็น Slot 1 และมีแคชระดับสองที่ 512-KB สำหรับความเร็วซีพียู 350 - 450 MHz

1999
Celeron  สำหรับตลาดระดับล่างของ Intel ที่ตัดความสามารถบางส่วนออก ทางอินเทลได้นำเอาซีพียูเพนเทียมทูในรุ่นคลา เมธมาทำการตัดเอาส่วนของหน่วยความจำแคช ระดับสองออก เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงทำให้ซีพียูเซเลอรอนมีสถาปัตยกรรม ภายในแบบเดียวกับเพนเทียมทู เพียงแต่ซีพียูเซลเลอรอนจะไม่มีหน่วยความจำแคชระดับสอง เท่านั้น การที่ Celeron สนัน สนุน MMX การโอนถ่ายข้อมูลมัลติมีเดียได้ด้วยความเร็วสูง แต่ ความสามารถของมันก็ไม่ได้เร็วอย่างที่คาดไว้  
                      CELERON
แคชที่มีเพียง 32 K กับบัส ที่ความเร็ว 66 MHz ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก และให้ชื่อรหัสการพัฒนาในรุ่นนี้ว่าโควินตัน ( Covignton )
From early 1999 to 2003
ถัดมา ในปี 1999 อินเทลประกาศเปิดตัวซีพียูใหม่อีกครั้งในนาม Pentium III (หรือบางคนอาจเขียนเป็น Pentium !!!) ซึ่ง Pentium III ตัวแรกที่เปิดตัวมานี้ ยังเป็น Pentium III แบบ Slot 1 อยู่ จริงๆ แล้ว Pentium III ก็คือ Pentium II ที่ได้จับเอามาเพิ่มชุดคำสั่ง SSE เข้าไป (Streaming SIMD Extension) แต่ก็ยังคงผลิตด้วยเทคโนโลยี 0.25 ไมครอน
             Pentium III
ความเร็วบัส 133 MHz Pentium III มีความเร็ว 533 และ 600 MHz
From 2000 to 2008
วันที่ 20 พฤศจิกายน ปี 2000 ก็ได้เกิดศักราชใหม่ของวงการซีพียูก็คือการเปิดตัวของ Intel Pentium 4 ครั้งแรก การมาของ Intel Pentium 4 ได้พลิกประวัติศาสตร์ซีพียูหลากหลายประการ เริ่มจากการเพิ่มเทคโนโลยี Hyper Pipelined Technology, Rapid Execution Engine และเพิ่มชุดคำสั่ง SSE2 เข้าไป ซึ่งซีพียู Intel Pentium 4 ตัวแรกๆ นั้น คิดว่าหลายคนยังจำได้อยู่ ก็คือเป็นซีพียู Socket 423 (มี 423 ขา) ตัวใหญ่ๆ ประมาณ Pentium III และก็เรื่องมากสุดๆ คือคนที่จะใช้ Pentium4 ต้องอัพเกรดเครื่องใหม่ทั้งหมด รวมไปถึง Power Supply ด้วย และยังใช้ได้เฉพาะ RDRAM เท่านั้น ซึ่งแรกๆ ก็มี RDRAM แถมมาในกล่องซีพียูเลย
                Pentium 4
ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน ใช้ระบบบัสแบบ Quad-Pumped Bus 400 MHz มีแคชระดับสองในตัวขนาด 256-KB ใช้ไฟ VCORE ที่ 1.700-1.750 V ซึ่งหลังจากที่ Pentium 4 รหัส Willamette Socket 423 มีความเร็วตั้งแต่ 1.30 GHz - 2.00 GHz
From 2005 to 2008
นับเป็นก้าวแรกสู่ยุค Dual& Muti-Core ของ Intel โดย Pentium D ถูกออกมา เพื่อการทำงานที่ต้องการ Multitasking สูงๆ หรือสามารถทำงานกับแอพพลิเคชั่นได้หลายตัวพร้อมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่- Pentium D ( Smithfield-90nm)- Pentium D (Presler-65 nm)
              Pentium D
มีความเร็วตั้งแต่ 2.8 - 3.60GHz มี Cache L2 ตั้งแต่ 2 - 4MB มี FSB 800MHz ไม่มี Hyper-Threading มีระบบประหยัดพลังงาน Intel SpeedStep (ยกเว้น PentiumD820,805) รองรับ EM64T มีเทคโนโลยีป้องกันการโจมตีของไวรัส ใช้การผลิตแบบ 90 และ 65นาโนเมตร บน LGA775 
From 2006 to 2009
(Pentium Dual-Core) เป็นแบรนด์ซีพียู x86 ของอินเทลในตระกูลเพนเทียม ในช่วงปี พ.ศ. 2549-2552 ก่อนที่จะถูกรีแบรนด์กลับไปเป็นชื่อ "เพนเทียม"
โพรเซสเซอร์ตัวแรกในชื่อเพนเทียมดูอัล-คอร์ปรากฏในแล็ปท็อปตอนต้นปี 2550

           Pentium Dual-Core
มีความเร็วสูงสุดปัจจุบันอยู่ที่ 2.4 GHz ในรุ่น E2220 ทำงานด้วย FSB 800 MHz มี L2 Cache ขนาด 1 MB ค่า TDP สูงสุด 65 W
From 2006 to 2009
Pentium Extreme Edition เป็น Dual-Core ภายใต้แบรนด์ Pentium ในตระกูล Extreme Edition ที่ถูกออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์ระดับ Hi- End สมรรถนะสูง เหมาะกับการสร้างสรรค์สื่อบันเทิงต่างๆอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งการประมวลผลภาพวิดีโอ และระบบเสียงแบบ High Definition ทั้งงานด้านการออกแบบและเกมส์ต่าง ๆ ได้แก่- Pentium Extreme Edition (Smithfield-90 nm )- Pentium Extreme Edition (Presler-65 nm )
         Pentium Extreme Edition
มีความเร็วตั้งแต่ 3.20 - 3.73GHz มี Cache L2 ตั้งแต่ 2 - 4MB มี FSBตั้งแต่ 800 - 1066MHz มีเทคโนโลยี Hyper-Threading ไม่มีระบบประหยัดพลังงาน รองรับ EM64T มีเทคโนโลยีป้องกันการโจมตีของไวรัส ใช้การผลิตแบบ 90 และ 65นาโนเมตร บน LGA775 
2006
Intel Core 2 Duo
เป็นแบรนด์ของทางอินเทลสำหรับไมโครโพรเซสเซอร์ x86 และ x86-64 ที่ทำงานบนสถาปัตยกรรมไมโครคอร์ ที่มีการทำงาน 1, 2 หรือ 4 คอร์ร่วมกัน  สถาปัตยกรรมคอร์นั้นได้ลดอัตรานาฬิกาและลดการใช้พลังงานลงโดยเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งแตกต่างจากสถาปัตยกรรมเน็ตเบิร์สต์รุ่นก่อนหน้าที่ใช้กับเพนเทียม 4 และ เพนเทียม D
การตลาดของทางผลิตภัณฑ์คอร์ 2 นั้น อินเทลได้วางเป็นผลิตภัณฑ์ในราคากลางถึงบน โดยได้ลดชั้นของซีพียูภายใต้ชื่อเพนเทียมไปเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับตลาดราคาปานกลางแทนที่ (เพนเทียมดูอัล-คอร์)

      Intel Core 2 Duo
มีความเร็วสูงสุด 2.6 GHz ในรุ่น E4700 ทำงานด้วย FSB 800 MHz มี L2 Cache ขนาด 2 MB ค่า TDP สูงสุด 65 W
Aug 2008
Intel® Core™2 Quad โปรเซสเซอร์ สำหรับเดสก์ท็อปพีซีที่ออกแบบมาให้จัดการกับการใช้งานคำนวณในปริมาณมากและ การทำงานด้านภาพ ด้วยเทคโนโลยีMulti-core ที่ทรงพลัง มอบแบนด์วิดธ์ที่คุณต้องการสำหรับแอพพลิเคชั่นแบบมัลติเธรด Intel Core 2 Quad โปรเซสเซอร์สร้างขึ้นบน 45nm Intel® Core™ microarchitecture จึงให้ประสบการณ์การใช้งานเดสก์ท็อปพีซีและเวิร์กสเตชั่นที่เร็วกว่า เย็นกว่า และเงียบกว่า
      Intel® Core™2 Quad
มีความเร็วสูงสุด 2.66 GHz ในรุ่น Q6700 ทำงานด้วย FSB 1066 MHz มี L2 Cache ขนาด 8 MB ค่า TDP สูงสุด 95 W
January 7, 2010
Core i3 นั้นมีใช้เทคโนโลยีใหม่ของ Intel Geaphics MediaAccelerator HD เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการใช้งานที่สูงสุด โดย Funtion ตัวนี้ทำให้เล่น VDO ในระดับ HD ให้ราบรื่นที่สุดและความสามารถในด้านการใช้งานของ 3D เพื่อให้ไม่ขัดใจในการที่เราจะทำงานและยังมี Techology ใหม่ของ Intel ก็คือ Intel Hyper-Threading Techology เพื่อให้การประมวลผล 2 Threads/1Core เพื่อรีดประสิทธิภาพของ CPU ออกมาให้ได้มากที่สุด ทำให้แต่ละ Core ของ Processor ทำงาน2งานได้เวลาเดียวกัน
               Core i3
ซีพียูแบบ 2 แกน โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 4 Threads มาพร้อมกับความเร็วในการประมวลผลที่สูงถึง 3.4 GHz รองรับการทำงานในระบบปฏิบัติการทั้ง 32 bit และ 64 bit โดยมี L3 Cache 3 MB ขนาดของหน่วยความจำ 32 GB ประเภท DDR3-1333/1600 และมีระบบประมวลผลกราฟฟิก Intel HD Graphics 2500 ความเร็วตั้งแต่ 650 MHz ไปจนถึง 1.05 GHz
September 8, 2009
ประสิทธิภาพเหลือเชื่อและสุดยอดการแสดงผลภาพพร้อมขุมพลังที่เพิ่มขึ้นสูงสุด ยกระดับประสบการณ์ด้านพีซีของคุณด้วยภาพสดใสคมชัด และการเร่งความเร็วอัตโนมัติในเวลาที่คุณต้องการหน่วย ประมวลผลกลาง Intel® Core™ i5 เจนเนอเรชั่น 4 ให้ประสิทธิภาพที่เหลือเชื่อ และระบบความปลอดภัยในตัวเพื่อการปกป้องที่ล้ำลึกยิ่งกว่า2
พบกับความน่าตื่นตาตื่นใจของการเพิ่มความเร็วให้อัตโนมัติเมื่อคุณต้องการ ด้วยเทคโนโลยี Intel® Turbo Boost 2.01 สัมผัสภาพยนตร์ ภาพถ่ายและเกมอย่างราบรื่นไม่มีสะดุดด้วยชุดประสิทธิภาพกราฟิกในตัวอันทรงพลัง3—และเพลิดเพลินได้เต็มที่ด้วยอายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่ยาวนานกว่า

              Core™ i5
เป็นซีพียูแบบ 4 แกน โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 4 Threads มาพร้อมกับความเร็วในการประมวลผลที่สูงถึง 3.2 GHz และสามารถอัพเพิ่มได้ถึง 3.6 GHzรองรับการทำงานในระบบปฏิบัติการทั้ง 32 bit และ 64 bit โดยมี L3 Cache 6 MB ขนาดของหน่วยความจำ 32 GB ประเภท DDR3-1333/1600 และมีระบบประมวลผลกราฟฟิก Intel HD Graphics 4600 ความเร็วตั้งแต่ 350 MHz ไปจนถึง 1.15 GHz
March 16, 2010
Core i7 เป็นซีพียูภายใต้แบรนด์ใหม่ในชื่อ Core i7 ที่ใช้รหัสการผลิตว่า Nehalem หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมแบบใหม่ด้วยโครงสร้างทั้งภาย ในและภายนอกที่ได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปมาก เช่น การย้ายเอาส่วนควบคุมหน่วยความจำ เป็นต้น สัมผัส ประสบการณ์ความเร็วไร้ขีดจำกัดจาก CPU Intel Core i7 4770K ที่จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ของคุณทำงานได้อย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานอย่างหนัก ทั้งเล่นเกมส์และกราฟฟิกต่างๆ และด้วยเทคโนโลยี Intel Turbo Boost 2.0 ที่จะช่วยเสริมประสิทธิภาพความเร็วของซีพียูทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณทำงานได้ เร็วยิ่งขึ้นกว่าเดิม คุณจึงไม่ต้องกังวลกับปัญหาคอมพิวเตอร์ค้าง รอนานอีกต่อไป

ซีพียู ระดับไฮ-เอนด์จาก Intel ในรุ่น Intel Core i7 4770K เป็นซีพียูแบบ 4 แกน โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 8 Threads มาพร้อมกับความเร็วในการประมวลผลที่สูงถึง 3.5 GHz และสามารถอัพได้สูงสุด 3.9 GHz รองรับการทำงานในระบบปฏิบัติการทั้ง 32 bit และ 64 bit โดยมี L2 Cache 4 X 256 KB และ L3 Cache 8 MB ขนาดของหน่วยความจำ 32 GB ประเภท DDR3-1333/1600 และมีระบบประมวลผลกราฟฟิก Intel HD Graphics 4600 ความเร็วตั้งแต่ 350 MHz ไปจนถึง 1.25 GHz


1 ความคิดเห็น:

  1. Mens Black Titanium Wedding Band – Black Diamonds - Tiagrins - Tiagrins
    Tinted, elegant, and with a high is titanium a metal level of grace, Tinted is an elegant wedding titanium sponge band polished titanium created for those who trekz titanium like a simple ceremony to babyliss pro nano titanium straightener feel

    ตอบลบ